การออกแบบห้องคอมเพรสเซอร์หรือปั๊มลม ต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง

1. สถานที่
ZT 45 tooth compressor 3D setup Zoom in การออกแบบห้องคอมเพรสเซอร์หรือปั๊มลมที่ดี จะช่วยให้ควบคุมคุณภาพลมอัดได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมั่นใจได้ว่าคอมเพรสเซอร์หรือปั๊มลมจะอยู่ในตำแหน่งที่มีอุณหภูมิที่เหมาะสมโดยการมีระบบ HVAC หรือ มีการระบายอากาศที่ดี และถึงแม้ว่าคอมเพรสเซอร์หรือปั๊มลมรุ่นปัจจุบันถูกออกแบบมาเพื่อการทำงานที่มีเสียงเงียบมากกว่ารุ่นก่อนๆ แต่ก็ยังคงมีเสียงรบกวนในขณะที่เครื่องทำงานอยู่ดี ดังนั้น การจัดวางคอมเพรสเซอร์หรือปั๊มลมในห้องที่กำหนด จะช่วยลดเสียงรบกวนในพื้นที่ที่ทำงานลงไปได้มาก
นอกจากนี้คุณควรจะจัดวางห้องคอมเพรสเซอร์หรือปั๊มลมให้อยู่ใกล้กับจุดที่จะใช้งาน โรงงานส่วนใหญ่ได้ลองติดตั้งห้องคอมเพรสเซอร์หรือปั๊มลมไว้ที่จุดศูนย์กลางของตำแหน่งที่จะใช้งาน เพื่อลดระยะทางในการจ่ายลม และยังช่วยลดปริมาณของท่อลมที่ใช้งาน ลดการเกิด pressure drop รวมถึงลดจุดที่มีแนวโน้มที่จะเกิดการรั่วไหล ซึ่งภายในห้องคอมเพรสเซอร์หรือปั๊มลมนั้น ควรมีพื้นที่เพียงพอสำหรับการจัดวางอุปกรณ์ต่างๆ ให้อยู่ในตำแหน่งที่มีการระบายอากาศที่เหมาะสม เพราะหากอุปกรณ์แต่ละอย่างอยู่ใกล้กันเกินไปก็จะทำให้ความร้อนจากคอมเพรสเซอร์หรือปั๊มลมเครื่องหนึ่งดูดเข้าไปในคอมเพรสเซอร์หรือปั๊มลมอีกเครื่องหนึ่งจนเกิดความร้อนสะสมมากขึ้น

2. ระยะห่าง
MaintenanceZoom in ควรขอคำปรึกษาจากผู้ผลิตคอมเพรสเซอร์หรือปั๊มลมที่คุณใช้งาน เพื่อให้คุณสามารถจัดวางระยะห่างของเครื่องจักรได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมต่อการระบายความร้อน และเข้าถึงการบำรุงรักษาเครื่องได้ง่าย ตัวอย่างเช่น คอมเพรสเซอร์หรือปั๊มลมที่มาพร้อมฝาครอบ อาจมีประตูบานพับที่เปิด-ปิดได้ หรือ เป็นฝาครอบที่ชนิดที่ต้องถอดออก ซึ่งทั้ง 2 ชนิดนี้ ล้วนต้องการระยะห่างในการจัดวางที่ไม่เท่ากัน อีกตัวอย่าง เป็นกรณีสำหรับการซ่อมบำรุงเครื่องที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งจำเป็นต้องใช้เครื่องมือ จำพวกเครื่องยก หรือ แม่แรง ในการบำรุงรักษา จะต้องจัดวางเครื่องให้มีระยะห่าง ความสูง และพื้นที่ว่างที่เพียงพอสำหรับการให้ผู้ปฏิบัติงานเข้าบำรุงรักษาเครื่องได้

3. การกำจัดน้ำเสีย
OSC 355 Condensate management systemZoom in ไอน้ำที่ปะปนอยู่ในลมอัดนั้นประกอบไปด้วยสิ่งปนเปื้อนที่ลอยอยู่ในอากาศ และน้ำมันที่เจือปนมาจากระบบ oil-injected เราจึงควรกรองสารปนเปื้อนที่มีอยู่ในไอน้ำนั้นก่อนจะระบายลงท่อหรือกำจัดออกไป เพื่อรักษาสภาพแวดล้อม ตามข้อปฏิบัติหรือกฎหมายเรื่องการกำจัดน้ำเสียที่มาจากคอมเพรสเซอร์หรือปั๊มลม, after cooler, เครื่องทำลมแห้ง (dryer) และ air receivers

4. การติดตั้งนอกอาคาร
3D images of blowers in cement plantZoom in เราอาจติดตั้งคอมเพรสเซอร์หรือปั๊มลมไว้นอกอาคารก็ได้ หากสถานที่ตั้งนั้นมีอุณหภูมิหรือสถานที่ที่เหมาะสม แต่ควรติดตั้งโดยมีหลังคาคลุมเพื่อกันฝนไม่ให้สาด หรือรั่วไหลเข้าสู่ตู้ไฟฟ้า โดยวางเครื่องให้ห่างจากขอบหลังคา เพราะ คอมเพรสเซอร์หรือปั๊มลมนั้นมีแรงดูดจากฝั่งดูดอากาศขาเข้า จึงอาจทำให้น้ำฝนไหลเข้าตัวเครื่องและก่อให้เกิดความเสียหายได้ ควรใช้เครื่องที่มีมาตรฐานขั้นการป้องกันระดับ NEMA 3R เป็นขั้นต่ำ ซึ่งจะช่วยปกป้องตัวเครื่องของคุณจากน้ำฝน และสิ่งสกปรก ส่วนมาตรฐานการป้องกันในระดับที่สูงกว่าอย่างเช่น NEMA 4 นั้นเหมาะสำหรับผู้ใช้งานที่ต้องล้างทำความสะอาดคอมเพรสเซอร์หรือปั๊มลม

ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์ :: www.atlascopco.com

Related Posts

แนวโน้มเศรษฐกิจโลกปี 2564
แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปีนี้จะเติบโตได้ประมาณ 2-3% ซึ่งเป็นการปรับลดลงมาจากก่อนหน้าที่คาดการณ์ไว้ที่ 3-4% โดยมีปัจจัยหลักอยู่ 2 ประเด็น คือ ระยะเวลาในการรับมือ COVID-19...
Read more
ทำSEO
SEO ทำงานอย่างไร ??
SEO ประกอบด้วยองค์ประกอบ หลายอย่าง และเป็นกระบวนการสร้างการเข้าชมจากผลการค้นหาแบบฟรี ออร์แกนิก บรรณาธิการ หรือธรรมชาติในเครื่องมือค้นหา การใช้ประโยชน์จาก SEO จะทำให้เว็บไซต์ของคุณมองเห็นได้ชัดเจนขึ้น ผลลัพธ์อันดับ...
Read more
คนใช้ google ค้นหาข้อมูลมากแค่ไหน ??
ทำไม Google กลายเป็น Search Engine ที่นิยมมากที่สุดในโลก ในยุค 2000s มีบริษัท Search Engine...
Read more
error: Content is protected !!