บ้านประหยัดพลังงาน

ด้วยสภาพแวดล้อมในปัจจุบันที่ร้อนขึ้นทุกวัน แต่บ้านส่วนใหญ่ยังคงถูกสร้างโดยไม่ได้คำนึงถึงสภาพอากาศที่ร้อน มีการออกแบบบ้านที่ไม่ดีพอและเลือกใช้วัสดุที่ไม่เหมาะสม ทำให้ตัวบ้านเกิดการสะสมความร้อน อากาศภายในบ้านไม่ถ่ายเท รู้สึกร้อนอบอ้าว ทำให้ผู้อยู่อาศัยต่างหาวิธีที่จะทำให้บ้านเย็นขึ้นโดยส่วนใหญ่มักจะแก้ปัญหาโดยการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ซึ่งความร้อนจากการทำงานของเครื่องปรับอากาศส่งผลให้อากาศโดยรอบบ้านร้อนขึ้น  นับเป็นการสิ้นเปลืองพลังงานและทำให้ค่าใช้จ่ายสูงขึ้น

1. บ้านที่ใช้พลังงานน้อย

ที่เห็นได้ทั่วไปเช่นในบ้านเราเช่น บ้านเรือนไทย สถาปัตยกรรมที่สะท้อนภาพชีวิตแบบไทย ทั้งในด้านความเป็นอยู่ ทัศนคติ และค่านิยม รูปแบบบ้านทรงไทยหลังคาจะเป็นทรงสูง เพื่อให้อากาศภายในเบาลอยตัวอยู่

ขณะที่ความร้อนจะถ่ายเทสู่ตัวบ้านหรือภายในห้องได้อย่างช้า ๆ เนื่องจากระยะความสูงของหลังคาทำให้ภายในตัวบ้านเย็นสบาย แม้จะมีห้องและฝากั้น แต่พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นชานเปิดโล่ง ทำให้ลมพัดผ่านได้สะดวก

ทั้งลมจากใต้ถุนสูงที่พัดขึ้นมาข้างบนทำให้บ้านเย็นตลอดเวลา ลักษณะอีกอย่างหนึ่งของบ้านไทยที่แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาในการแก้ปัญหาอากาศร้อนคือ การสร้างชายคา ให้ยื่นยาวออกคลุมตัวบ้านมากกว่าบ้านทรงยุโรป เป็นการป้องกันแดดไม่ให้เผาฝาบ้านให้ร้อน ป้องกันฝนสาด แดดส่อง และโดยรอบบ้านจะต้องมีสภาพแวดล้อมที่ดี เช่นมีต้นไม้ให้ร่มเงา มีแหล่งน้ำเพื่อช่วยลดอากาศร้อนก่อนที่จะเข้ามาในตัวบ้าน ถ้าสภาพแวดล้อมและการออกแบบตัวบ้านดีการใช้พลังงานก็จะน้อยลง

2. บ้านที่ใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน โดยเฉพาะพื้นที่ในเมือง ที่มีความแออัด ไม่มีที่โล่ง ไม่มีต้นไม้  มีแต่ฝุ่นและควันรถ ไม่สามารถเปิดบ้านให้โล่งได้ เป็นผลให้จำเป็นต้องปิดหน้าต่างแล้วเปิดแอร์เพื่อปรับอากาศ

ดังนั้นบ้านจึงต้องออกแบบให้มีการรั่วซึมของอากาศน้อย ใช้วัสดุที่ช่วยป้องกันความร้อนไม่ให้เข้าสู่ภายในบ้าน เช่น การใช้ฉนวนกันความร้อน หรือใช้กระจกที่มีคุณสมบัติป้องกันความร้อน เพื่อให้การใช้พลังงานมีประสิทธิภาพ และการออกแบบวางตัวบ้านต้องสอดคล้องกับทิศทางแดดลม

3. บ้านผลิตพลังงาน

บ้านสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ในระดับนึงผ่านทางแผง Solar Cell และนำพลังงานไฟฟ้านั้นมาใช้ในเรื่องของการระบายความร้อนในตัวบ้านผ่านทางเครื่อง Invertor(ไม่ใช่เครื่องปรับอากาศ) โดยการออกแบบตัวบ้านต้องคำนึงถึงทิศทางของการวางแผง Solar Cell เพื่อให้ได้รับแสงมากที่สุด และที่สำคัญบริเวณรอบบ้านที่ร่มรื่นจะช่วยให้บ้านเย็นสบายขึ้น เมื่อบ้านได้รับการออกแบบวางทิศทางตัวบ้านที่ดี ใช้วัสดุที่เหมาะสม พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในบ้านก็จะน้อยลงเนื่องจากบ้านไม่มีความร้อน

4. บ้านที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

เมื่อบ้านถูกออกแบบให้ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถผลิตไฟฟ้าไว้ใช้ในการระบายความร้อนในบ้านได้ แนวคิดเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อมจะถูกเสริมเพิ่มเข้ามาในการออกแบบบ้านด้วย

เทคนิคประหยัดพลังงานที่คุณเองก็ทำได้

1.หันบ้านให้ถูกทาง

ภาพแวดล้อมรอบๆบ้านมีส่วนช่วยทำให้บ้านเย็นสบาย การวางตำแหน่งบ้านที่ดีจะทำให้ภายในบ้านได้รับประโยชน์จากธรรมชาติมากที่สุด ความร้อนที่เกิดในบ้านส่วนใหญ่มาจากดวงอาทิตย์

ซึ่งดวงอาทิตย์จะขึ้น ทางทิศตะวันออกแล้วเคลื่อนตัว อ้อมไปทางทิศใต้ จนไปตกทางด้านทิศตะวันตก ดังนั้นการวางตำแหน่งของบ้าน อาจใช้หลัก “เปิดรับแสงด้านเหนือ” และ “กันแดดด้านตะวันตกและใต้

2.ปลูกต้นไม้

การปลูกต้นไม้บริเวณรอบๆบ้าน ต้นไม้จะมีส่วนช่วยปกป้องแสงแดดที่ส่องลงมาให้น้อยลง โดยเฉพาะต้นไม้ใหญ่ที่แผ่กิ่งก้านครอบคลุมไปทั่วพื้นที่บ้าน จะทำให้บรรยากาศรอบๆ เย็นสบายนอกจากนี้ต้นไม้มีการดูดน้ำจากพื้นใต้ดินและเกิดการคายน้ำบริเวณปากใบ จึงทำให้เกิดความชุ่มชื้นขึ้นในอากาศ ทำให้อากาศรอบๆต้นไม้เย็นลง

3.ยอมให้ลมพัดผ่าน

การวางบ้านหรือช่องหน้าต่างที่เหมาะสมกับทิศ บ้านก็มีโอกาสที่จะรับลมได้มีทางให้ลมเข้า ต้องมีทางให้ลมออก การให้แต่ละห้องมีหน้าต่างอยู่ด้านตรงข้ามกัน จะทำให้อากาศถ่ายเทในห้องได้มาก รวมถึงอย่าวางเฟอร์นิเจอร์ขวาง หรือบังทางลมเข้าออกด้วย

4.แสงจากธรรมชาติ

การที่แต่ละห้องมีช่องแสงหรือหน้าต่างให้แสงธรรมชาติส่องสว่างเข้ามาในห้องได้นั้น ทำให้ไม่เสียค่าไฟฟ้าน้อยลง การรับแสงธรรมชาติเข้าบ้านที่ดีนั้นควรอยู่ในทิศทางที่ไม่มีแสงแดดเข้ามา

การที่มีช่องแสงหรือหน้าต่างทางทิศเหนือนั้น จะรับแสงสว่างจากธรรมชาติได้ดีที่สุด หรือทางทิศตะวันออก ตะวันออกเฉียงเหนือที่ช่วงบ่ายจะไม่โดนแดด

ที่มา : https://www.baanthaihome.com/