เทคนิคการบริหารเงินทุนหมุนเวียน

หลักการง่ายๆ ในการบริหารเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ (มีเงินทุนหมุนเวียนในระยะสั้นและเงินทุนหมุนเวียนในระยะยาว) จะเกี่ยวข้องกับการจัดการสัดส่วนของสินทรัพย์หมุนเวียนและหนี้สินหมุนเวียนของกิจการให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม

สินทรัพย์หมุนเวียน คือ สินทรัพย์ของกิจการที่สามารถเปลี่ยนแปลงเป็นเงินสดได้ ภายในระยะเวลาอันสั้นหรือภายใน 1 ปี ได้แก่ เงินสด เงินฝากธนาคาร สินค้าคงเหลือ ลูกหนี้การค้า เป็นต้น มักเรียกสินทรัพย์เหล่านี้ว่าเป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงนั่นเอง

หนี้สินหมุนเวียน คือ หนี้สินที่มีระยะเวลาในการชำระคืนภายใน 1 ปี เช่น เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร หรือ OD และเงินกู้ยืมระยะสั้น เป็นต้น

หนี้สินหมุนเวียนและทรัพย์สินหมุนเวียน ถือเป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงของกิจการ ผู้ประกอบการจำเป็นต้องดูแล เอาใจใส่เกี่ยวกับสัดส่วนของสินทรัพย์ทั้งสองตัวนี้อย่างใกล้ชิด กล่าวคือ หากกิจการมีการลงทุนในทรัพย์สินถาวร มากกว่าการถือสินทรัพย์หมุนเวียนมากเกินไป อาจทำให้กิจการมีสภาพคล่องที่ต่ำ

แน่นอนว่าการถือสินทรัพย์ถาวรมากกว่า บางครั้งอาจหมายถึงการสร้างรายได้ทางการขายที่มากกว่า เช่น การมีเครื่องจักรจำนวนมาก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต แต่หากบริษัทขาดเงินทุนหมุนเวียน เช่น เงินสำหรับจัดซื้อวัตถุดิบ ก็อาจสร้างปัญหาการขาดสภาพคล่องให้กับกิจการ และการดำเนินงานได้ ส่งผลเสียต่อกิจการอาจถึงขั้นล้มละลายได้เลยทีเดียว

ในขณะเดียวกัน กิจการส่วนใหญ่ที่มีความเสี่ยงต่ำกว่าในการบริหารเงินทุนหมุนเวียน ปกติจะมีสินทรัพย์หมุนเวียนในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกับหนี้สินหมุนเวียน สะท้อนถึงการมีสภาพคล่องที่ดีเนื่องจากกิจการมีสินทรัพย์ที่สามารถแปลงเป็นเงินสดได้ใน 1 ปี ใกล้เคียงกับหนี้สินที่ต้องชำระภายในระยะเวลา 1 ปีเช่นกัน

เงินทุนหมุนเวียนถือว่ามีความสำคัญในการดำเนินธุรกิจเป็นอย่างมาก ทักษะในการบริหารเงินทุนหมุนเวียนให้มีพร้อมใช้งานในบริษัทอยู่เสมอ ประกอบกับการที่กิจการสามารถบริหารสัดส่วนเงินทุนหมุนเวียน ให้สอดคล้องกับการทำกำไร และความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้  เป็นทักษะที่ผู้ประกอบธุรกิจควรมี เพื่อที่จะได้บริหารกิจการให้ดำเนินไปได้อย่างราบรื่น

ในการบริหาร เงินทุนหมุนเวียน สิ่งสำคัญก็คือ ผู้ประกอบการจะต้องสามารถจัดสรรค์เงินทุนหมุนเวียนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยพิจารณาทั้งด้านความเสี่ยง และผลกำไรหรือผลตอบแทนของกิจการควบคู่ไปด้วย

ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์ :: https://www.moneywecan.com/what-working-capital/

Related Posts

หลักการทำงานของปั๊มลม Air compressor
Air compressor หรือที่เรารู้จักกันในนาม เครื่องปั๊มลม คอยทำหน้าที่อัดแรงดันลมให้สูงตามผู้ใช้ต้องการ รูปแบบการทำงานด้วยลมนี้เรานำมาประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายทั้งแบบปั๊มและแบบเครื่องอัดเพื่อให้เกิดความดันสูงขึ้น และสามารถนำไปใช้ในรูปแบบหนึ่งของพลังงาน นิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีขนาดเล็ก จนถึงโรงงานขนาดใหญ่ หากเราสังเกตุตามร้านซ่อมเครื่องยนต์ต่างๆ...
Read more
ปั๊มลมโรตารี่
ปั๊มลมโรตารี่ (rotary air compressor) เหมาะกับใช้งานคู่กับเครื่องไม้เครื่องมือลมต่างๆ ถ้าใช้งานทั่วๆ ไป ไม่ได้ใช้งานตลอดทั้งวันแบบพวกงานพ่นสีหรือปืนยิงตะปูลม ควรเลือกซื้อปั๊มลมโรตารี่เพราะให้จำนวนลมอยู่ตัวและต่อเนื่อง ด้วยว่าระบบนิวแมคเนติกซึ่งกำกับการทำหน้าที่ของมอเตอร์ให้ปริมาณลมคงที่และคงเส้นคงวา...
Read more
การบริหารเงินทุนหมุนเวียน
เงินทุนหมุนเวียนมีทั้งเงินทุนหมุนเวียนในระยะสั้นและเงินทุนหมุนเวียนในระยะยาว วันนี้จะมาพูดถึงการบริหารเงินทุนหมุนเวียนกันค่ะ 1. จัดการเงินสดให้เป็นระบบ- เงินสดย่อย สำหรับค่าใช้จ่ายรายวันจำนวนไม่มาก เช่น ค่าแสตมป์ ค่ายานพาหนะ ค่าเครื่องใช้สำนักงาน เป็นต้น...
Read more
error: Content is protected !!