ความเป็นมาของเครื่องสแกนลายนิ้วมือ

เครื่องสแกนลายนิ้วมือ ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในทุกวงการ เช่น ด้านระบบรักษาความปลอดภัย บันทึกเวลาทำงาน สำหรับเข้าออกงาน ระบบเปิด-ปิดประตู ระบบฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ เป็นต้น จุดประสงค์หลักของการใช้เครื่องสแกนลายนิ้วมือ ได้แก่ การพิสูจน์ตัวตน โดยอาศัยหลักการที่ว่าลายนิ้วมือทุกคนมีความแตกต่างกัน การทดแทนการใช้บัตร เช่น ATM, Credit card, Smart card

เครื่องสแกนลายนิ้วมือ มีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษว่า Finger scan หรือ Fingerprint Scanner เป็นเครื่องมือที่ถูกใช้ในการแปลงข้อมูลจากลายนิ้วมือของแต่ละบุคคล เพื่อเก็บบันทึกในรูปแบบของข้อมูลดิจิทอล ในยุคปัจจุบันเมื่อเทคโนโลยีมีความก้าวหน้ามากขึ้นเครื่องสแกนลายนิ้วมือจึงเริ่มมีบทบาทมากยิ่งขึ้นด้วย เครื่องสแกนลายนิ้วมือเป็นเครื่องมือที่นิยมนำมาใช้งานกันมากที่สุดตามโรงงานอุตสาหกรรม เพราะเมื่อก่อนตามโรงงานอุตสาหกรรมยังคงใช้ระบบตรวจสอบเวลาทำงานของพนักงานแต่ละคนด้วยระบบตอกบัตร แต่การใช้ระบบตอกบัตรจะทำให้โรงงานต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายในส่วนของกระดาษตอกบัตร ดังนั้นเมื่อมีการนำระบบเครื่องสแกนลายนิ้วมือเข้ามาประยุกต์จึงทำให้สามารถลดภาระค่าใช้จ่ายได้มาก

ในปัจจุบันเครื่องสแกนลายนิ้วมือยังถูกนำมาใช้งานกับธุรกิจทั่วไปหรืออาคารสำนักงานทั่วไปอีกด้วย อีกทั้งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี จึงทำให้เครื่องสแกนลายนิ้วมือมีความสามารถในการบันทึกเวลาเข้าออกงานของพนักงานได้แม่นยำ มีความผิดพลาดของข้อมูลน้อย ใช้งานง่าย และสะดวกในการติดตั้ง ด้วยเห็นผลดังกล่าวจึงทำให้เครื่องสแกนลายนิ้วมือได้กลายเป็นอุปกรณ์พื้นฐานของเครื่องใช้สำนักงานที่องค์กรต่างๆในยุคปัจจุบันต้องหามาใช้ไปแล้วนั่นเอง

Biometrics คือการผสมผสานเทคโนโลยีทางด้านชีวภาพและทางการแพทย์กับเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน โดยการตรวจวัดคุณลักษณะทางกายภาพ (Physical Characteristics) และลักษณะทางพฤติกรรม (Behaviors) ที่เป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละคนมาใช้ในการระบุตัวบุคคลนั้น ๆ แล้วนำสิ่งเหล่านั้นมาเปรียบเทียบกับคุณลักษณะที่ได้มีการบันทึกไว้ในฐานข้อมูลก่อนหน้านี้ เพื่อใช้แยกแยะบุคคลนั้นจากบุคคลอื่นๆ

นอกจากนี้ยังสามารถใช้ในการตรวจสอบบุคคลคนนั้น ในกรณีที่อาจเป็นผู้ต้องสงสัยในการละเมิดกฎหมายได้อีกด้วย คุณลักษณะทางกายภาพของคนเรานั้นส่วนใหญ่จะไม่เปลี่ยนไปตามกาลเวลา ในขณะที่พฤติกรรมอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ จึงทำให้การพิสูจน์บุคคลโดยการใช้ลักษณะทางกายภาพนั้นมีความน่าเชื่อถือมากกว่า ตัวอย่างของคุณลักษณะทางกายภาพที่นิยมนำมาใช้ ได้แก่ ลายนิ้วมือ ม่านตา ช่องตาดำ ฝ่ามือ และรูปหน้า เป็นต้น ส่วนเสียงพูด การลงลายมือชื่อ การใช้แป้นพิมพ์ ซึ่งจัดเป็นคุณลักษณะทางพฤติกรรมของบุคคล ที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามกาลเวลาและการเรียนรู้ของเจ้าของ แต่ข้อดีอย่างหนึ่งของการใช้ Biometric ประเภทนี้ก็คือ ใช้ง่าย เป็นที่ยอมรับของผู้ใช้และมีอัตราเสี่ยงต่อการติดเชื้อต่ำ เนื่องจากไม่ต้องนำอวัยวะที่ไวต่อการติดเชื้อ (เช่น ดวงตา) ไปสัมผัสกับอุปกรณ์ที่ใช้ใน

การอ่านข้อมูล Biometrics การสแกนลายนิ้วมือหรือที่เรียกว่า Biometric ซึ่งรหัสเป็น รหัสประจำตัวที่มีเฉพาะบุคคลหนึ่งบุคคลใดเท่านั้น ไม่สามารถลอกเลียนแบบกันได้

ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์ :: https://www.charoenfingerscan.com/article/292/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD

Related Posts

ราคาใหม่ชี้ Bitcoin จะพุ่งแตะ 200,000 ดอลลาร์ภายในปี 2022
นช่วงเช้าของวันนี้ราคา Bitcoin ได้พุ่งแตะ 19,400 ดอลลาร์ ก่อนที่จะแรงขายจะเริ่มหลั่งไหลเข้ามาอีกครั้ง จนส่งผลให้ราคาเริ่มชะลอตัวลดลง อย่างไรก็ตามในขณะที่เขียนรายงานอยู่นี้ราคายังคงมีการขยับตัวเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง แต่ราคาจะสามารถกลับมาเป็นขาขึ้นได้หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับว่าผู้ซื้อจะสามารถผลักดันราคาให้ยืนเหนือระดับ 19,000 ดอลลาร์ได้อย่างมั่นคงหรือไม่  แม้จะมีความผันผวนของราคาในระยะสั้น...
Read more
เครื่องสแกนลายนิ้วมือมีประโยชน์อย่างไร
เครื่องสแกนลายนิ้วมือมีความแม่นยำ รัดกุม รวดเร็ว โรงงานหรือบริษัทบางแห่งมีพนักงานจำนวนมากที่ต้องเข้างานพร้อมกัน การใช้เครื่องสแกนลายนิ้วมือจะช่วยให้การพิมพ์ลายนิ้วมือเข้า-ออกงานนั้นเป็นไปอย่างรวดเร็ว แน่นอนมากกว่าระบบการตอกบัตรในอดีตที่ต้องใช้เวลานานมาก ทำให้เสียเวลาในการทำงานลงไป นอกจากนั้น เครื่องสแกนลายนิ้วมือยังสามารถเก็บข้อมูลการเข้า-ออกงานได้อย่างแม่นยำรัดกุม ไม่สามารถโกงได้ เนื่องจากต้องใช้ลายนิ้วมือของพนักงานพิมพ์ลงไปบนเครื่องเท่านั้น...
Read more
การบริหารเงินทุนหมุนเวียน
เงินทุนหมุนเวียนมีทั้งเงินทุนหมุนเวียนในระยะสั้นและเงินทุนหมุนเวียนในระยะยาว วันนี้จะมาพูดถึงการบริหารเงินทุนหมุนเวียนกันค่ะ 1. จัดการเงินสดให้เป็นระบบ- เงินสดย่อย สำหรับค่าใช้จ่ายรายวันจำนวนไม่มาก เช่น ค่าแสตมป์ ค่ายานพาหนะ ค่าเครื่องใช้สำนักงาน เป็นต้น...
Read more
error: Content is protected !!