หลักการทำงานของปั๊มลม Air compressor

Air compressor หรือที่เรารู้จักกันในนาม เครื่องปั๊มลม คอยทำหน้าที่อัดแรงดันลมให้สูงตามผู้ใช้ต้องการ รูปแบบการทำงานด้วยลมนี้เรานำมาประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายทั้งแบบปั๊มและแบบเครื่องอัดเพื่อให้เกิดความดันสูงขึ้น และสามารถนำไปใช้ในรูปแบบหนึ่งของพลังงาน นิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีขนาดเล็ก จนถึงโรงงานขนาดใหญ่

หากเราสังเกตุตามร้านซ่อมเครื่องยนต์ต่างๆ โรงงานอุตสาหกรรม รวมไปถึงร้านซ่อมจักรยานยนตร์ การใช้งานของแต่ละประเภทปั๊มลมก็จะแตกต่างกันปั๊มลมประเภทลูกสูบ มีขนาดที่พอดี ไม่ใหญ่มากจนเกิดไป สามารถใช้งานได้ในครัวเรือน ส่วนโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางและใหญ่ทั่วไปนั้นก็จะใช้เป็นปั๊มลมประเภทสกรู ที่จะต้องใช้แรงดันอยากมากในการทำงาน

ส่วนประกอบและหน้าที่ของปั๊มลมส่วนต่างๆ
1. หัวปั๊มลม ใช้ในการผลิตลม
2. ถังเก็บลม ใช้สำหรับเก็บลมไว้ภายใน สำหรับไว้ใช้งาน
3. มอเตอร์ไฟฟ้า เป็นต้นกำลังที่ใช้ในการผลิตลม
4. เกจ์ จะเป็นตัวบอกแรงดันลมที่มีอยู่ภายในถังเก็บลม
5. สวิทช์ออโตเมติก สั่งทำงานการดันลมโดยอัตโนมัติ ซึ่งจะทำการสั่งหยุดลมเมื่อได้ลมที่ต้องการตามอัตโนมัติ และจะทำหน้าที่สั่งให้ลมทำงานต่อ เมื่อลมได้มีปริมาณลดลงตามที่ระบุไว้
6. แม็กเนติก มีหน้าที่ป้องกันการทำงานของระบบมอเตอร์ไฟฟ้า
7. โปโร ช่วยระบายลมออกจากถังเก็บลม เมื่อเวลาที่ระบบสวิทช์ออโตเมติกไม่ทำงาน
8. สายระบายลม เป็นตัวผ่านลมลงไปยังถังเก็บลมภายใน
9. เช็ควาล์ว เป็นตัวกันลมย้อนกลับเข้าหัวลม
10. ตาแมว เป็นตัวแสดงปริมาณน้ำมันหล่อลื่นที่อยู่ภายในหัวปั๊มลม ซึ่งตัวน้ำมันหล่อลื่นจะต้องอยู่ในปริมาณที่ระบุไว้เท่านั้น
11. ท่อทองแดง ช่วยในการระบายลมออกจากสายระบายลม เพื่อที่จะได้ช่วยลดแรงเสียดทานจากการเริ่มต้นผลิตแรงลม

ประเภทของปั๊มลมชนิดต่างๆ เราสามารถแบ่งเครื่องปั๊มลมออกเป็น 6 ประเภท ดังต่อไปนี้
1. Piston Air Compressor ปั๊มลมประเภทลูกสูบ
2. Screw Air Compressor ปั๊มลมประเภทสกรู
3. Sliding Vane Rotary Air Compressor ปั๊มลมประเภทใบพัดเลื่อน
4. Roots Air Compressor ปั๊มลมประเภทใบพัดหมุน
5. Diaphragm Air Compressor ปั๊มลมประเภทไดอะเฟรม
6. Redial and axial flow Air Compressor ปั๊มลมประเภทกังหัน

แต่โดยส่วนใหญ่แล้วปั๊มลมที่นิยมใช้มากที่สุดและพบเห็นได้ทั่วไปจะมีอยู่ 2 ประเภทคือ ปั๊มลมประเภทสกรูและปั๊มลมประเภทลูกสูบ ซึ่งจะมีลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกันไป โดยปั๊มลมแบบสกรูจะเน้นไปเป็นการใช้งานแบบปั๊มโรงงาน ส่วนปั๊มลมลูกสูบจะเป็นการใช้งานแบบร้านซ่อมมอเตอร์ไซค์ ซ่อมจักรยานยนต์ทั่วไปนั้นเอง

ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์ :: https://www.aircomsupply.com

Related Posts

ความเป็นมาของเครื่องสแกนลายนิ้วมือ
เครื่องสแกนลายนิ้วมือ ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในทุกวงการ เช่น ด้านระบบรักษาความปลอดภัย บันทึกเวลาทำงาน สำหรับเข้าออกงาน ระบบเปิด-ปิดประตู ระบบฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ เป็นต้น จุดประสงค์หลักของการใช้เครื่องสแกนลายนิ้วมือ ได้แก่ การพิสูจน์ตัวตน...
Read more
การเลือกซื้อเครื่องสแกนลายนิ้วมือ
เครื่องสแกนลายนิ้วมิือมีขายอยู่ทั่วไปและหลากหลายยี่ห้อ หลากหลายราคา วันนี้จะมาพูดถึงการเลือกซื้อเครื่องสแกนลายนิ้วมือกันค่ะ การเลือกซื้อเครื่องสแกนลายนิ้วมือควรพิจารณาจากหลายๆส่วน ดังนี้ 1. ดูที่หัวอ่าน (Sensor) ว่าสินค้านั้นใช้หัวอ่านแบบไหน2. ความเร็วในการอ่านลายนิ้วมือเร็วแค่ไหน ใช้เทคโนโลยีใดในการอ่าน3....
Read more
ประโยชน์ของเครื่องทาบบัตร
เครื่องทาบบัตร คือ อุปกรณ์ที่ใช้คู่กับบัตรคีย์การ์ด  โดยเครื่องและบัตรสามารถบันทึกข้อมูลการทาบบัตรไว้ เราสามารถกำหนดสิทธิการใช้งานบัตรได้ เช่น กำหนดสิทธิให้บัตรใบใดใช้ทาบเครื่องสแกนได้ หากบัตรหาย ก็สามารถยกเลิกสิทธิการทาบเครื่องนั้นๆ ได้อีกด้วย...
Read more
error: Content is protected !!