เครื่องอัดอากาศ
เครื่องอัดอากาศ (Air compressors) คือ เมื่อเปิดสวิทช์การทำงานของเครื่องถ้าอากาศยังมีความดันต่ำกว่าที่กำหนด Pressure Switch ก็จะต่อวงจรไฟฟ้าผ่านไปยังมอเตอร์ ทำให้มอเตอร์หมุน และไปขับให้ปั๊มอัดอากาศทำงานด้วย เมื่ออากาศบรรจุเข้าถังมีความดันสูงตามที่กำหนดไว้เพรสเชอร์ สวิตซ์ จะตัดการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้าให้หยุดทำงาน แต่เมื่อเครื่องบรรจุอากาศต่ำลงตามค่าที่กำหนดไว้ เพรสเชอร์สวิตซ์ ก็จะทำงานอัติโนมัติ โดยทำการอัดลงเข้าไปในถังใหม่ตามค่าที่กำหนดไว้ การทำงานของเครื่องอัดอากาศคล้ายกับการทำงานของหม้อไอน้ำที่อาศัยแรงดันในการควบคุมการทำงาน
อากาศอัด หรือ ลมอัด คืออากาศที่ถูฏเก็บไว้ให้มีความดันสูงกว่าความดันบรรยากาศโดยอากาศจะถูกบีบหรืออัดด้สนเครื่องอัดอากาศ (Air compressors)
ปั๊มลม (Air Compressor) แบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆได้ 6 ประเภท
1. เครื่องอัดลม หรือ ปั๊มลมแบบลูกสูบ (Piston Air Compressor)
2. เครื่องอัดลม หรือ ปั๊มลมแบบสกรู (Screw Air Compressor)
3. เครื่องอัดลม หรือ ปั๊มลมแบบไดอะแฟรม (Diaphragm Air Compressor)
4. เครื่องอัดลม หรือ ปั๊มลมแบบใบพัดเลื่อน (Sliding Vane Rotary Air Compressor)
5. เครื่องอัดลม หรือ ปั๊มลมแบบใบพัดหมุน (Roots Air Compressor)
6. เครื่องอัดลม หรือ ปั๊มลมแบบกังหัน (Radial and Axial Flow Air Compressor)
การเลือกซื้อปั๊มลมขนาดเล็ก
ปั๊มลม (AIR COMPRESSOR )
คือ เครื่องมือที่มีความสำคัญในระบบนิวเมติก (ระบบลม) จะมีหน้าที่เป็นตัวต้นกำลังทำการสร้าง แรงดันลม ให้ได้ตามที่เราต้องการ เพื่อนำไปใช้งานโดยจะมีถังเก็บลมขนาดต่างๆ เช่น 25,50,100,200 ลิตร ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในงานต่างๆ โดยปรกติ ระบบนิวแมติก หรือระบบลม แรงดัน ที่เหมาะสมและคุ้มค่าจะอยู่ 6-8 bar ปั๊มลมขนาดเล็ก แบบลูกสูบ (Piston Air Compressor ) เป็น ปั้มลมขนาดเล็ก ที่นิยมใช้มากที่สุด ด้วยราคา และความเหมาะสมต่อการใช้งาน สามารถอัดอากาศได้ 1 bar – 1000 bar เราจึงพบเห็นการใช้ปั้มลมแบบนี้กันทั่วไป เช่น ร้านปะยาง อู่ซ่อมรถ เครื่องพ่นสี บริการล้างรถ งานไม้เฟอร์นิเจอร์ฯลฯ
- แรงดันลมที่จะใช้งานต้องพอสำหรับอุปกรณ์ที่จะใช้ โดยปรกติ ที่อุปกรณ์จะเป็นตัวกำหนด
- ปริมาณลมที่ต้องการใช้แบบต่อเนื่องคำนวณได้ จากอุปกรณ์ที่เราใช้
- ระบบไฟฟ้า ที่จะนำมาใช้ต้องเป็นระบบเดียวกัน
- ขนาดของถังเก็บลมต้องเพียงพอ และเหมาะสมกับงานที่ใช้