9 อย่างที่ควรมีก่อนเริ่มขายของออนไลน์ 

9 อย่างที่ควรมีก่อนเริ่มขายของออนไลน์

Page365-อยากขายของออนไลน์ ต้องทำยังไงบ้าง

ทุกวันนี้มีผู้คนมากมายสนใจอยากเริ่มทำธุรกิจออนไลน์หรือ ขายของออนไลน์ เพราะดูเป็นสิ่งที่ทำได้ง่าย แถมไม่ต้องลงทุนอะไรมากนักแต่แท้จริงแล้วการเปิดร้านขายของออนไลน์หรือทำธุรกิจออนไลน์ให้ประสบความสำเร็จได้นั้น จำเป็นต้องมีการเตรียมตัวที่ดี เพราะไม่อย่างนั้นแล้วอาจจะขาดทุน จนต้องล้มเลิกไปก็ได้

วันนี้ พิมเพลินเลยอยากขอนำ 9 อย่างที่ควรมี ก่อนเริ่มเปิดร้านออนไลน์มาบอกกับคุณผู้อ่านที่กำลังอยากเริ่มต้นขายของออนไลน์ เพื่อให้ได้เตรียมตัวก่อนเริ่มเปิดร้านออนไลน์กัน และ 5 กลยุทธ์เพิ่มยอดขายให้กับพ่อค้า – แม่ค้าออนไลน์มือฉมัง ที่ช่วยให้ขายดียิ่งขึ้น ยอดปังกว่าเดิมในบทความนี้ค่ะ


อยากขายของออนไลน์ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง?

1. ชื่อร้าน

ขายของออนไลน์ ชื่อร้านต้อง อ่านง่าย จำง่าย คุ้นหู ค้นหาเจอ

หลายคนคิดว่าการตั้งชื่อร้านค้าออนไลน์ของตัวเอง จะตั้งชื่อร้านอะไรก็ได้ตามใจชอบ ยิ่งถ้าแปลกไม่ซ้ำใครยิ่งดี (บางทีถึงกับเปิดดิกชันนารีหากันด้วยซ้ำ) แต่หารู้ไม่ การตั้งชื่อร้านต้องมีเทคนิคนั่นก็คือ ต้องอ่านง่าย จำง่าย คุ้นหู และต้องค้นหาเจอง่าย

  • อ่านง่าย ชื่อที่ออกเสียงยาก ไม่คุ้นหูคนไทย มีผลทำให้ลูกค้าไม่จดจำร้าน หรือบางทีก็ไม่กล้าแนะนำร้านคุณกับคนรู้จัก เพราะกลัวออกเสียงผิด! เท่ากับคุณเสียโอกาสได้ลูกค้าใหม่ไปอีกคน
  • จดจำง่าย คุ้นหู ชื่อร้านที่ดีควรทำให้ลูกค้าจดจำได้ง่าย เห็นปุ๊บจำปั๊บยิ่งดี ข้อนี้ก็แล้วแต่ความครีเอทของแต่ละคนเลยค่ะว่าจะใช้ไม้ไหน ไม่ว่า ตั้งชื่อร้านให้สัมพันธ์กับสินค้าที่ขาย เช่น ถ้าคุณขายนาฬิกาและตั้งชื่อให้มีคำว่า Time หรือ Watch ลูกค้าก็จะสามารถจดจำและหาร้านของคุณเจอได้ง่ายยิ่งขึ้น หรือใช้เทคนิคใช้ศัพท์ที่เรียกความสนใจ เช่น ‘คนอะไรเป็นแฟนหมี’ (นั่นดิ..คนอาร๊ายเป็นแฟนหมี อยากรู้ไหมล่ะ)
  • ค้นหาเจอง่าย สมัยนี้ไม่มีใครจะหาอะไรก็ต้องถามอากู๋ Google หรือ Facebook กันทั้งนั้นแหละค่ะ ยิ่งถ้าเราคิดชื่อได้ตรงกับคำศัพท์ที่ลูกค้าใช้ค้นหา (Search) ก็ยิ่งมีโอกาสทำให้ลูกค้าหาร้านเราเจอง่ายขึ้น

2. สินค้า

เลือกจากสิ่งที่ชอบ เลือกจากสิ่งที่ใช่

  • เลือกจากสิ่งที่ชอบ เลือกจากสิ่งที่คุณชอบ เพราะเวลาขายคุณจะสามารถให้ข้อมูลลูกค้าได้อย่างชัดเจน นี่ยังไม่นับไปถึงความสุขที่คุณจะได้ทำสิ่งที่รัก สิ่งที่ชอบ จนรู้สึกมีความสุขจนเหมือนไม่ได้ทำงานเลยนะ
  • เลือกจากสิ่งที่ใช่ แต่ถ้าคุณไม่ได้ชื่นชอบอะไรเป็นพิเศษ แค่อยากมีร้านค้าเป็นของตัวเอง คุณอาจจะเริ่มโดยการสำรวจตลาดว่าสินค้าอะไรกำลังเป็นที่ต้องการและน่าจะทำกำไรได้ดี ยกตัวอย่างเช่น ในช่วงที่คนส่วนมากหันมาใช้สมาร์ทโฟน การขายแบตสำรองหรือเคสโทรศัพท์มือถือก็เป็นความคิดที่ไม่เลว หรือถ้าไม่รู้ว่าจะขายของออนไลน์อะไรดี

3. เงินทุน

ต้นทุนการขายของออนไลน์ ไม่ได้มีแค่ค่าสินค้าเพียงอย่างเดียว

เงินที่คุณจะนำมาลงทุนในการเริ่มร้านออนไลน์ไม่ควรจะครอบคลุมแค่ค่าสินค้าที่คุณจะสั่งมาขาย แต่ควรรวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่คุณอาจต้องเสีย เช่น ค่าจัดส่ง ค่าแพ็กสินค้า ค่าโฆษณา ฯลฯ ดังนั้น คุณควรวางแผนให้ดี ว่าเงินทุนของคุณนี้จะสามารถทำให้คุณดำเนินการได้แบบไม่ต้องไปขอยืมคนอื่นทีหลัง ยิ่งถ้าคุณคิดจะลาออกจากงานประจำมาขายของออนไลน์ด้วยแล้ว คุณยิ่งต้องคิดให้รอบคอบ

4. จุดยืนของร้าน

วางแผนร้านให้ชัดเจน

เมื่อมีสินค้าแล้ว ก็ถึงเวลาคิดว่าสินค้าของคุณเหมาะที่จะขายส่งหรือขายปลีกมากกว่ากัน บางครั้งการเลือกขายสินค้าส่งในราคาถูก เอากำไรน้อย อาจทำให้คุณรวยแบบไม่รู้เรื่องก็ได้ ในขณะที่สินค้าบางอย่าง เช่น สินค้าแฟชั่น ก็เหมาะที่จะขายปลีกแบบเอากำไรสูง

5. ช่องทางขายสินค้า

ขายที่ไหนบ้าง? FACEBOOK, INSTAGRAM, LINE OA หรือ TWITTER

ช่องทางการขายว่าเราจะเปิดร้านออนไลน์และขายสินค้าของเราบนไหน ก็เป็นอีกปัจจัยที่มีต่อผลต่อความสำเร็จของร้าน เพราะแต่ละช่องทางเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้แตกต่างกัน

  • ขายบนเพจ Facebook เป็นช่องทางที่ง่ายที่สุด คนขายนิยมสูงสุด และก็เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเราได้มากที่สุดเช่นกัน เพราะสมัยนี้ใครๆก็เล่น Facebook กันทั้งนั้น ทำให้สินค้าเราเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ง่ายมาก ยิ่งปัจจุบัน Facebook เปิดให้ลงโฆษณา (Facebook Ads) ที่สามารถตั้งงบที่ใช้ลงโฆษณาและกำหนดกลุ่มเป้าหมายเองด้วยแล้ว ยิ่งทำให้เปิดเพจขายของบน Facebook ยิ่งฮอตฮิตเข้าไปใหญ่ ทำให้คนหายกลายเป็นเศรษฐีมาแล้วมากมายคุณอาจสนใจบทความนี
  • ขายบน Instagram เป็นอีกช่องทางที่เริ่มนิยมเป็นอันดับถัดมา โดยจะเน้นการขายผ่านรูปภาพ ลงรายละเอียดได้ไม่มากเหมือน Facebook ดังนั้นหากจะขายผ่านช่องทางนี้ คุณต้องมีฝีมือในการถ่ายภาพสินค้าในระดับนึงเลยแหละถึงจะปัง แต่ถ้ายังฝีมือไม่เข้าขั้นก็ฝึกฝนกันได้นะคะ
  • ขายผ่าน LINE และ LINE OA ช่องทางนี้ก็เป็นอีกช่องทางที่น่าสนใจและควรมี แต่นั่นต้องหลังจากที่คุณมีเพจ Facebook หรือ ร้านบน Instagram แล้วนะคะ เพราะช่องทางนี้เป็นช่องทางที่ร้านสามารถแชทตรงกับลูกค้าได้เลย ลูกค้าจะรู้สึกเหมือนได้คุยกับคนเป็นๆ มากกว่า ร้านค้าส่วนใหญ่จึงใช้ช่องทางนี้ในการสื่อสารกับกลุ่มลูกค้าเก่า เช่น การอัปเดตสินค้าคอลเลคชั่นใหม่ โปรโมชั่นล่าสุด ฯลฯ

ที่มาpage365.net/