การบริหารเงินทุนหมุนเวียน
เงินทุนหมุนเวียนมีทั้งเงินทุนหมุนเวียนในระยะสั้นและเงินทุนหมุนเวียนในระยะยาว วันนี้จะมาพูดถึงการบริหารเงินทุนหมุนเวียนกันค่ะ
1. จัดการเงินสดให้เป็นระบบ
– เงินสดย่อย สำหรับค่าใช้จ่ายรายวันจำนวนไม่มาก เช่น ค่าแสตมป์ ค่ายานพาหนะ ค่าเครื่องใช้สำนักงาน เป็นต้น ทำให้สะดวกในการใช้จ่าย ควบคุมรายจ่ายที่เกิดขึ้นประจำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
– เงินสดในมือ ได้จากการขายประจำวันและเงินทอน เป็นส่วนที่ไม่มีผลตอบแทน ควรมีเท่าที่จำเป็น ลดความเสี่ยงจากการสูญเสีย เช่น การขโมย ดังนั้นควรนำไปฝากธนาคารทุกวัน
– เงินฝากกระแสรายวัน อำนวยความสะดวกในการบริหารเงินได้อย่างคล่องตัวและปลอดภัยโดยใช้เช็คสั่งจ่ายของธนาคารแทนการใช้เงินสด
– เงินฝากออมทรัพย์ ใช้สำหรับรับโอนเงินจากเงินฝากกระแสรายวันเพื่อรับดอกเบี้ย เป็นเงินสำหรับใช้จ่ายภาษีต่าง ๆ หรือ ใช้ในกรณีฉุกเฉิน
2. นำหลักทรัพย์ลงทุนชั่วคราวเพื่อสร้างรายได้
ผู้ประกอบการสามารถนำเงินสดที่ยังไม่จำเป็นต้องใช้จ่ายหรือชำระหนี้ทันทีไปลงทุนในหลักทรัพย์ระยะสั้นหรือตราสารในตลาดเงินซึ่งให้ผลตอบแทนสูงกว่าเก็บไว้ในบัญชีกระแสรายวันซึ่งไม่มีดอกเบี้ย และบัญชีออมทรัพย์ซึ่งดอกเบี้ยต่ำมาก
3. กำหนดนโยบายบริหารลูกหนี้
ในกรณีขายเชื่อ ผู้ประกอบการจำเป็นต้องมีวิธีการบริหารลูกหนี้ โดยกำหนดเป็นนโยบายขายเชื่อ มีรายละเอียดสำคัญ 3 ประการ
– ประเภทลูกค้าและวงเงินขายเชื่อ
– ระยะเวลาและเงื่อนไขขายเชื่อ
– วิธีการควบคุมขายเชื่อและมาตรการแก้ปัญหา
4. จัดการสินค้าคงเหลือเหมาะสม
เป้าหมายหลักของการจัดการสินค้าคงคลัง ทำให้ค่าใช้จ่ายรวมในการจัดการสินค้าคงเหลือมีค่าน้อยที่สุดในขณะลูกค้าได้รับความพอใจ ดังนั้นผู้ประกอบการต้องบริหารสินค้าคงคลังให้ปริมารพอเหมาะ ไม่มากหรือน้อยเกินไป เงินลงทุนจะได้ไม่จมอยู่กับสินค้า ค่าใช้จ่ายในการบริหารสินค้าเหลือน้อยและมีสินค้าพร้อมขายแก่ลูกค้าทันท่วงที
ขอขบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์ :: https://taokaemai.com/%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88/