ทำคอนเทนต์อย่างไร? เมื่อ Social Media แต่ละตัวแตกต่างกันชัดเจน
หนึ่งในข้อผิดพลาดที่เห้นประจำของการทำคอนเทนต์คือเรามักทำและปล่อยคอนเทนต์ตัวเดียวกันลงในทุกๆช่องทาง ปัญหาคือ Social Media แต่ละตัวไม่ได้ทำหน้าที่เหมือนกัน ผลคือการสื่อสารข้อความซ้ำซากที่ลูกค้าเห็นแล้วอาจกดเลิกติดตามไปเพื่อกำจัดความรำคาญทิ้งไป และที่หนักกว่านั้นคือบางบริษัทให้พนักงานแต่ละคนดูแล Social Media แต่ละช่อง ผลคือพนักงานอาจสื่อสารไปคนละทิศจนทำให้ลูกค้าหรือพนักงานในองค์กรสับสน… ฉะนั้นก่อนที่จะสื่อสารอะไรไป เราอาจจะต้องดูว่า Social Media แต่ละตัวมีหน้าที่ที่แตกต่างกันอย่างไร
มี 326 ล้านคนที่เล่น Twitter ทุกเดือน กว่า 500 ล้านข้อความที่ทวิตกันทุกวัน คิดเป็น 5,787 ทวิตในทุกๆวินาที ซึ่งแต่ลทวิตมีอายุขัยอยู่ราวๆ 18 นาที แต่เชื่อหรือไม่ว่าคนที่ใช้ทวิตเตอร์กว่าครึ่งหนึ่งของทั้งหมดกลับไม่เคยทวิตข้อความอะไรเลย แค่มาตามข้อมูลข่าวสารเท่านั้น
นั่นเพราะว่าฟังก์ชันหลักๆ Twitter กลายเป็น Real time News Feed ไปแล้ว Twitter กลายเป็นแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือมากขึ้น คิดดูว่าคนที่เป็นข่าวสามารถปล่อยข่าวหรือแสดงความคิดเห็นออกมาได้ทันทีโดยไม่ต้องผ่านการกรองจากบรรณาธิการข่าวใดๆทั้งสิ้น
ในแง่ของธุรกิจ Twitter จึงกลายเป็นสื่อออนไลน์ที่ใช้บอกข่าวเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในองค์กรได้อยู่เรื่อยๆ แต่ที่สำคัญกว่าคือการใช้ Twitter ตามสิ่งที่เกิดขึ้นในแวดวงธุรกิจต่างหาก
Youtube
เป็นแพลตฟอร์ที่แชร์วีดีโอฟรี่ใหญ่ที่สุด เป็นช่องทางที่ดีมากๆในการสร้างแบรนด์ แสดงความคิดเห็น สอน How-to จนทุกคนสามารถสร้างช่องของตัวเองและไลฟ์สดได้เหมือนรายการทีวี เอาจริงๆ Youtube จะมีความเป็น Social Media น้อยกว่าตัวอื่นเพราะคนเข้ามาดูคลิปไม่จำเป็นต้อง Log in ด้วยซ้ำ ถ้าตอนนี้สุ่มคนมา 10 คน จะต้องมีอย่างน้อย 6 คนดูวีดีโอบน Youtube มากกว่าบน TV ส่วนยอดค้นหาช่องใน Youtube 20 ช่องแรก เป็นพวก Youtuber ทั้งนั้น
ฉะนั้นการเอา Youtube มาใช้สื่อสารเชิงพาณิชย์ควรเป็นคอนเทนต์ที่ทั้งสนุกทั้งขายของได้ มากกว่าจะมาสร้างความสัมพันธ์กันคนเป็นเครือข่ายมากกว่า
เอาจริงๆ Instagram เป็นช่องทางที่ดีมากๆในการสื่อสารกับลูกค้าหรือพนักงานในองค์กรให้เห็นถึงเบื้องหลังในการทำงานหรือผลิตสินค้าและให้บริการ มันช่วยเพื่มปฏิสัมพันธ์ให้กับคนที่ติดตาม มากกว่าจะมาโปรโมทสินค้าอย่างเดียว
ส่วน Hashtag เป็นส่วนสำคัญมากใน Instagram และหลายๆครั้ง ก็สำคัญกว่าคำบรรยายใต้รูปธรรมดาด้วย เราสามารถติด # ได้มากสุด 30 อันกับรูปบน Feed และ 10 อันบน Story ให้คนที่ติดตามได้ตามบทสนทนา ได้ตามเทรนด์ว่าหัวข้อนี้ใครคุยอะไรกันบ้าง มันส่งผลต่อการการเพิ่มยอด Follower และการรับรู้คอนเทนต์มากขึ้น
ในแง่ธุรกิจ Instagram เป็นช่องทางในการเล่าเรื่องต่างๆที่เกิดขึ้นกับแบรนด์ทั้งเบื้องหนังและเบื้องหลัง ในปี 2018 เคยมี Instagram TV ให้แบรนด์มีช่องรายการของตัวเองเหมือน Youtube ด้วยซ้ำ ก็เพื่อเชื่อต่อกับกลุ่มผู้ติดตาม และมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของแบรนด์
มีคนใช้กว่า 600 ล้านคน 30 ล้านบริษัท จากกว่า 200 ประเทศ เพื่อสร้างสิ่งที่เรียกว่า “Connection” แต่ละคนมีเครือข่ายของตัวเองโดยอาจไม่จำเป็นต้องรู้จักกันในชีวิตจริง การเพิ่มเพื่อนใน LinkedIn เป็นเรื่องของการงานอาชีพและสายสัมพันธ์ทางธุรกิจล้วนๆ โดยเฉพาะพวกกำลังหางานทำและฝ่าย HR ของบริษัทที่กำลังหาคนที่ใช่มาทำงานด้วย
แต่สำหรับองค์กรหรือบริษัทนั้น LinkedIn เป็นสื่อที่ดีในการแชร์ข้อมูลข่าวสาร PR ในองค์กร แทนที่แต่เดิมจะต้องผ่านสื่อหลักหรือสำนักข่าวต่างๆ และยังเป๋นแพลตฟอร์มที่คอยเชื่อมพนักงานในบริษัทอีก
สื่อสังคมออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มี Facebook Group ที่เปรียบเหมือนชุนชนของคนที่มีความสนใจเหมือนๆน มี Messenger ที่ไม่ใช่แค่ส่งข้อความคุยหากันได้ แต่ยัง Live สดกันได้ด้วย
ฉะนั้นในเมื่อ Facebook มีแพลตฟอร์มอยู่หลายตัว ฝั่งธุรกิจก็ต้องเลือกนำมาใช้งานให้ถูกฟังก์ชั่นของมันด้วย โดยเฉพาะในการยิงโฆษณา เรียกได้ว่า Facebook เป็นสื่อโฆษณาที่ใหญ่ที่สุดในฌลก มันมีอิทธิพลในการซื้อสินค้าและบริการจริงๆ
เหตุผลหลักที่ WhatsApp ยังเป็นที่นิยมเพราะเป็นทางเลือกนอกจากส่ง SMS ที่มีต้อนทุนถูกกว่า แถมเหมาะกับการคุยกันแบบกลุ่ม นี่จิงเป็นโอกาสที่ดีมากของธุรกิจรายย่อยที่จะได้เป็นหนึ่งในกลุ่มสนทนาของลูกค้าเป้าหมาย หรือคุยโต้ตอบกับพนักงานในบริษัทหรือองค์กร
Snapchat
สื่อสังคมออนไลน์ที่ Facebook ไม่ได้เป็นเจ้าของ นิยมในวัยรุ่นอเมริกาอายุ 16 -24 ไว้อวดตัวเอง แชร์รูปและวีดีโอที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้น เมื่ออัพขึ้นแล้วก็จะแสดงให้เห็นเพียงแค่ 10 วินาที เป็นสื่อสังคมออนไลน์ที่ใช้สื่อสารกับคนรุ่นใหม่
นอกจากนี้ยังมี TikTok ที่การทำคอนเทนต์นั้น ควรเน้นทั้งสาระและความบันเทิง จริงอยู่ที่กระบวนการยิงโฆษณาไม่แตกต่างจาก Facebook และ Line แต่อย่าลืมด้วยว่าทำไมคนที่เราต้องการสื่อสารด้วยนั้นเปิดใช้งาน Social Media แต่ละตัว เพราะถ้าเราไม่รู้เหตุผลที่ใช้งาน Social Media ตัวนั้น การทำคอนเทนต์ของเราก็จะผิดจากสิ่งที่ลูกค้าอยากรับรู้เช่นกัน
แหล่งอ้างอิง Myths of Social Media: Dismiss the Misconceptions and Use Social Media Effectively in Business โดย Ian MacRae และ Michelle Carvill
ขอบคุณที่มา : marketingoops.com