Notice: Function _load_textdomain_just_in_time was called incorrectly. Translation loading for the newsblogger domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. โปรดดู การแก้ข้อผิดพลาดใน WordPress สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม (ข้อความนี้ถูกเพิ่มมาในรุ่น 6.7.0.) in /home/ourhighlands/domains/ourhighlandsranchnews.com/public_html/wp-includes/functions.php on line 6114
หลักการทำงานของปั๊มลม Air compressor - ธุรกิจออนไลน์

หลักการทำงานของปั๊มลม Air compressor

Air compressor หรือที่เรารู้จักกันในนาม เครื่องปั๊มลม คอยทำหน้าที่อัดแรงดันลมให้สูงตามผู้ใช้ต้องการ รูปแบบการทำงานด้วยลมนี้เรานำมาประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายทั้งแบบปั๊มและแบบเครื่องอัดเพื่อให้เกิดความดันสูงขึ้น และสามารถนำไปใช้ในรูปแบบหนึ่งของพลังงาน นิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีขนาดเล็ก จนถึงโรงงานขนาดใหญ่

หากเราสังเกตุตามร้านซ่อมเครื่องยนต์ต่างๆ โรงงานอุตสาหกรรม รวมไปถึงร้านซ่อมจักรยานยนตร์ การใช้งานของแต่ละประเภทปั๊มลมก็จะแตกต่างกันปั๊มลมประเภทลูกสูบ มีขนาดที่พอดี ไม่ใหญ่มากจนเกิดไป สามารถใช้งานได้ในครัวเรือน ส่วนโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางและใหญ่ทั่วไปนั้นก็จะใช้เป็นปั๊มลมประเภทสกรู ที่จะต้องใช้แรงดันอยากมากในการทำงาน

ส่วนประกอบและหน้าที่ของปั๊มลมส่วนต่างๆ
1. หัวปั๊มลม ใช้ในการผลิตลม
2. ถังเก็บลม ใช้สำหรับเก็บลมไว้ภายใน สำหรับไว้ใช้งาน
3. มอเตอร์ไฟฟ้า เป็นต้นกำลังที่ใช้ในการผลิตลม
4. เกจ์ จะเป็นตัวบอกแรงดันลมที่มีอยู่ภายในถังเก็บลม
5. สวิทช์ออโตเมติก สั่งทำงานการดันลมโดยอัตโนมัติ ซึ่งจะทำการสั่งหยุดลมเมื่อได้ลมที่ต้องการตามอัตโนมัติ และจะทำหน้าที่สั่งให้ลมทำงานต่อ เมื่อลมได้มีปริมาณลดลงตามที่ระบุไว้
6. แม็กเนติก มีหน้าที่ป้องกันการทำงานของระบบมอเตอร์ไฟฟ้า
7. โปโร ช่วยระบายลมออกจากถังเก็บลม เมื่อเวลาที่ระบบสวิทช์ออโตเมติกไม่ทำงาน
8. สายระบายลม เป็นตัวผ่านลมลงไปยังถังเก็บลมภายใน
9. เช็ควาล์ว เป็นตัวกันลมย้อนกลับเข้าหัวลม
10. ตาแมว เป็นตัวแสดงปริมาณน้ำมันหล่อลื่นที่อยู่ภายในหัวปั๊มลม ซึ่งตัวน้ำมันหล่อลื่นจะต้องอยู่ในปริมาณที่ระบุไว้เท่านั้น
11. ท่อทองแดง ช่วยในการระบายลมออกจากสายระบายลม เพื่อที่จะได้ช่วยลดแรงเสียดทานจากการเริ่มต้นผลิตแรงลม

ประเภทของปั๊มลมชนิดต่างๆ เราสามารถแบ่งเครื่องปั๊มลมออกเป็น 6 ประเภท ดังต่อไปนี้
1. Piston Air Compressor ปั๊มลมประเภทลูกสูบ
2. Screw Air Compressor ปั๊มลมประเภทสกรู
3. Sliding Vane Rotary Air Compressor ปั๊มลมประเภทใบพัดเลื่อน
4. Roots Air Compressor ปั๊มลมประเภทใบพัดหมุน
5. Diaphragm Air Compressor ปั๊มลมประเภทไดอะเฟรม
6. Redial and axial flow Air Compressor ปั๊มลมประเภทกังหัน

แต่โดยส่วนใหญ่แล้วปั๊มลมที่นิยมใช้มากที่สุดและพบเห็นได้ทั่วไปจะมีอยู่ 2 ประเภทคือ ปั๊มลมประเภทสกรูและปั๊มลมประเภทลูกสูบ ซึ่งจะมีลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกันไป โดยปั๊มลมแบบสกรูจะเน้นไปเป็นการใช้งานแบบปั๊มโรงงาน ส่วนปั๊มลมลูกสูบจะเป็นการใช้งานแบบร้านซ่อมมอเตอร์ไซค์ ซ่อมจักรยานยนต์ทั่วไปนั้นเอง

ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์ :: https://www.aircomsupply.com

Related Posts

เทคนิคการบริหารเงินทุนหมุนเวียน
หลักการง่ายๆ ในการบริหารเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ (มีเงินทุนหมุนเวียนในระยะสั้นและเงินทุนหมุนเวียนในระยะยาว) จะเกี่ยวข้องกับการจัดการสัดส่วนของสินทรัพย์หมุนเวียนและหนี้สินหมุนเวียนของกิจการให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม สินทรัพย์หมุนเวียน คือ สินทรัพย์ของกิจการที่สามารถเปลี่ยนแปลงเป็นเงินสดได้ ภายในระยะเวลาอันสั้นหรือภายใน 1 ปี ได้แก่...
Read more
ประโยชน์ของการใช้เครื่องสแกนลายนิ้วมือ
1. ป้องกันการลงเวลาแทนกันของพนักงาน การลงเวลาแทนกันของพนักงานนั้นจะทำให้องค์กรเสียผลประโยชน์ หากนำเครื่องสแกนลายนิ้วมือมาใช้งานแทนเครื่องตอกบัตร จะป้องกันการลงเวลาแทนกันได้ 100% เพราะโครงสร้างลายนิ้วมือไม่สามารถปลอมแปลงได้ 2. สามารถอ่านลายนิ้วมือได้อย่างรวดเร็ว เครื่องสแกนนิ้วมือเป็นเครื่องบันทึกเวลาทำงานได้อย่างถูกต้องรวดเร็วแม่นยำเพียง 1-2...
Read more
ซาอุฯ ออกมาตรการ 'ยกเว้นภาษี 30 ปี' จูงใจบริษัทต่างชาติตั้งสำนักงานในประเทศ
'ซาอุดีอาระเบีย' ออกมาตรการเว้นภาษีนิติบุคคลยาว 30 ปี หวังดึงบริษัทข้ามชาติมาตั้งสำนักงานใหญ่ในภูมิภาคแข่งกับ 'UAE' ซีเอ็นบีซีรายงานว่า ซาอุดีอาระเบียได้ประกาศมาตรการดึงดูดการลงทุนครั้งใหญ่ด้วยการยกเว้นภาษีนิติบุคคลนาน 30 ปี เพื่อจูงใจให้บริษัทต่างชาติเข้ามาตั้งสำนักงานใหญ่ในประเทศ โดยจะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี...
Read more
error: Content is protected !!