หลักการทำงานเครื่องสแกนลายนิ้วมือ

วิธีที่จะนำมาใช้ในการที่จะยืนยันตัวบุคคลหรือการระบุตัวตนให้แน่ชัดนั้น (IDENTIFICATION) มีอยู่หลายวิธีการแต่วิธีที่เป็นที่ยอมรับและถูกนำมาใช้ในการแยกแยะตัวบุคคลให้ถูกต้องแม่นยำและรวดเร็วที่สุดวิธีหนึ่งก็คือ การเปรียบเทียบด้วยลายนิ้วมือ (Fingerprint) ก่อนที่จะกล่าวถึงหลักการทำงานของเครื่องสแกนลายนิ้วมือ (Fingerprint หรือ Finger scan) ที่ถูกออกแบบมาใช้งานไม่ว่าจะนำเครื่องสแกนลายนิ้วมือมาใช้เป็นเครื่องบันทึกเวลาทำงานหรือใช้เพื่อควบคุมการเข้า – ออกประตู (ACCESS CONTROL) ก็ตามแม้แต่เครื่องสแกนใบหน้าก็จำเป็นต้องอาศัยการออกแบบโดยใช้หลักการจากความรู้จากวิชาไบโอเมติกส์ขั้นพื้นฐาน ทุกวันนี้มีการใช้เครื่องบันทึกเวลาทำงานโดยใช้แบบเครื่องสแกนลายนิ้วมือและเครื่องสแกนใบหน้ามาแทนแบบเครื่องทาบบัตรเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะป้องกันการทาบบัตรแทนกันได้ (Buddy Punching) ซึ่งเครื่องสแกนลายนิ้วมือแก้ปัญหานี้ได้เพราะไม่มีใครที่มีลายนิ้วเหมือนกัน

วัตถุประสงค์ของเครื่องสแกนลายนิ้วมือ
1. ป้องกันการลงเวลาแทนกันของพนักงาน การลงเวลาแทนกันของพนักงานนั้นจะทำให้องค์กรเสียผลประโยชน์ หากนำเครื่องสแกนลายนิ้วมือมาใช้งานแทนเครื่องตอกบัตร จะป้องกันการลงเวลาแทนกันได้ 100 % เพราะโครงสร้างลายนิ้วมือไม่สามารถปลอมแปลงได้
2. เครื่องสแกนลายนิ้วมือ สามารถอ่านลายนิ้วมือได้อย่างรวดเร็ว เครื่องสแกนนิ้วมือเป็นเครื่องบันทึกเวลาทำงานได้อย่างถูกต้องรวดเร็วแม่นยำเพียง 1-2 วินาที
3. ลดต้นทุนการใช้งาน เช่น กระดาษตอกบัตร หมึกเติม เอกสารการคำนวณเวลาการทำงาน เงินเดือนของพนักงาน ระบบจะทำการเก็บข้อมูล คำนวณสถิติ และจัดทำเป็นรายงานสรุปเวลาทำงาน ขาด ลา มาสาย OT ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4. ลดภาระฝ่ายบุคคล ฝ่ายบุคคลไม่ต้องเสียเวลารวบรวมข้อมูลของพนักงานแต่ละคนด้วยตัวเอง สามารถคำนวณและสรุปรายงานข้อมูลการทำงานได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้องและแม่นยำ

นอกจากนี้ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ (finger scan) ยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับระบบควบคุมการ เปิด – ปิดประตู ควบคุมการเข้าออกของพนักงาน Access Control ได้อีกด้วย ระบบนวัตกรรมใหม่ที่รวมเอา 2 ระบบการใช้งานเข้าไว้ในหนึ่งเดียว ถูกผสานกันอย่างลงตัว คุ้มค่าบนความปลอดภัย เพราะสามารถควบคุม จำกัดการเข้าออกของผู้ใช้งานได้

ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์ :: https://fingerscanshop.com/fingerprint/

Related Posts

ไวรัสโคโรนากับผลกระทบเศรษฐกิจไทย
ไวรัสโคโรนากับผลกระทบเศรษฐกิจไทย
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจของธนาคารไทยพาณิชย์ (EIC) ให้มูลเกี่ยวกับความสำคัญกับผลกระทบของสถานะการณ์ไวรัสโคโรนาระบาด ที่ส่งผลให้ภาคการส่งออก และปริมาณนักท่องเที่ยวมีแนวโน้มลดลงอย่างมีนัยสำคัญในช่วงไตรมาสแรกของปี 2020 Airplane taking off from the airport. 3d...
Read more
คอมเพลสเซอร์กับ 9 ปัญหาที่พบบ่อยของอาการเสีย
air compressor เป็นอะไรที่ช่างจำต้องตรวจสอบก่อนเป็นอันดับแรกๆ เมื่อแอร์ทำงานไม่ถูกต้องหรือแอร์ไม่เย็น วันนี้เรามาดู 9 ปัญหาที่พบบ่อยของอาการเสีียของแอร์และคอมเพลสเซอร์กันค่ะ 1. คอมเพลสเซอร์ทำงานแต่โอเวอร์โหลดตัด- กระแสไฟที่เข้ามีโวลท์ต่ำ ,...
Read more
วิธีเลือกปั๊มลมให้เหมาะกับงาน
ปั๊มลม (AIR COMPRESSOR) สามารถแบ่ง 6 ประเภท 1. ปั๊มลมแบบลูกสูบ (PISTON COMPRESSOR)2....
Read more
error: Content is protected !!